แบบฝึกหัด
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย
หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม
โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่คนเดียวได้
จึงต้องรวมกันอยู่เป็นหมู่เป็นพวก เป็นกลุ่ม จำเป็นที่ต้องมีการติดต่อกัน
เพื่อแลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิต บางครั้งมนุษย์ก็มีความต้องการที่จะทำอะไร ๆ
ตามใจตนเองบ้าง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ
จนเกิดความขัดแย้งวุ่นวายขึ้นมาได้ มนุษย์จึงต้องสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน เพื่อให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อย
อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข กฎหมายเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าหากไม่มีกฎหมาย
แน่นอนว่าสังคมเกิดความวุ่นวาย ไม่มีความเป็นระบบ และมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
2.
ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายจะเป็นอย่างไร
ตอบ สังคมปัจจุบันไม่สามารถอยู่ได้ถ้าไม่มีกฎหมาย
เพราะกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สังคมอยู่ได้ เพราะกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นมาด้วยความเห็นชอบและทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม
หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าหากไม่มีกฎหมาย
แน่นอนว่าสังคมเกิดความวุ่นวาย ไม่มีความเป็นระบบ และมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
3.
ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย
เป็นกฎเกณฑ์
ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม กฎหมาย มีลักษณะเป็นคำสั่ง
ข้อห้าม ที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมใช้บังคับได้ทั่วไป ใครฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษหรือสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่ง
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย ระบบกฎหมายในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 ระบบ ได้แก่ ระบบกฎหมาย
ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ระบบกฎหมายสังคมนิยม และระบบกฎหมายศาสนา
กฎหมายแต่ละระบบย่อมมีที่มาแต่งต่างกัน การแบ่งประเภทของกฎหมาย
อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับว่าจะยึดอะไรเป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่ง
มนุษย์จำเป็นต้องมีกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้สังคม
เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุข
ค.
ที่มาของกฎหมาย
ที่มาของกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เป็นระบบที่สืบทอดมาจากกฎหมายโรมัน
ซึ่งให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้โดยถูกต้องตามกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
2. จารีตประเพณี
ในบางครั้งการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร จะให้ครอบคลุมทุกเรื่องเป็นไปได้ยาก
จึงต้องมีการนำเอาจารีตประเพณี มาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรด้วย
3. หลักกฎหมายทั่วไป
ในบางครั้งถึงแม้จะมีกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายจารีตประเพณี
มาใช้พิจารณาตัดสินความแล้วก็ตาม แต่ก็อาจไม่เพียงพอครอบคลุมได้ทุกเรื่อง
จึงต้องมีการนำเอาหลักกฎหมายทั่วไป
ที่มาของกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1. จารีตประเพณี
ถือว่าเป็นที่มาประการสำคัญของระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เนื่องจากกฎหมายระบบนี้เกิดจากการนำเอาจารีตประเพณี
2. คำพิพากษาของศาล
จารีตประเพณีใดที่ถูกนำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความแล้ว
ก็จะกลายเป็นคำพิพากษาของศาล ซึ่งคำพิพากษาบางเรื่องอาจถูกนำไปใช้เป็นหลัก
หรือเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินคดีความต่อ ๆ ไป
3. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ในสมัยต่อ ๆ
มาบ้านเมืองเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่จะรอให้จารีตประเพณีเกิดขึ้นย่อมไม่ทันกาล
บางครั้งจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นมาใช้ด้วย
4. ความเห็นของนักนิติศาสตร์
ระบบกฎหายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ยังยอมรับความเห็นของนักนิติศาสตร์มาใช้เป็นหลักในการตัดสินคดีความด้วย
เพราะนักนิติศาสตร์เป็นผู้ที่ศึกษากฎหมายอยู่เสมอ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิด
มีเหตุผล
5 .หลักความยุติธรรมหรือมโนธรรมของผู้พิพากษา
ในระยะหลังที่บ้านเมืองเจริญขึ้นสภาพสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป
การใช้จารีตประเพณีและคำพิพากษาก่อน ๆ
มาเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความอาจไม่ยุติธรรม จึงเกิดศาลระบบใหม่ขึ้น
ซึ่งศาลระบบนี้จะไม่ผูกมัดกับจารีตประเพณีหรือคำพิพากษาของศาลเดิม
แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี
ซึ่งเรียกว่ามโนธรรมของผู้พิพากษา
ง.
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายภายใน
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
3. กฎหมายสารบัญญัติ
และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
กฎหมายภายนอก
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
4.
ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า
ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย
ถ้าไม่มีกฎหมายสังคมจะเกิดความวุ่นวาย มีการรบราฆ่าฟัน เกิดความขัดแย้ง
และส่งผลต่อทุกส่วน ทุกประเทศไม่สามารถพบกับความสงบสุขได้
5.
สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์
เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์
กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย
สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย
ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน
ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ
6.
สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง
มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ความเหมือนของกฎหมายทางอาญาและทางแพ่ง
คือ เป็นกฎหมายภายในและสามารถควบคู่กันไปก็ได้ เช่น กฎหมายที่ดิน สำหรับความต่าง คือ กฎหมายทางอาญาจะมีโทษการประหารชีวิต จำคุก
กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน ส่วนกฎหมายทางแพ่งเป็นการกำหนดให้เป็น
โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย
7.
ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ระบบกฎหมายหลักๆในโลกนี้มีอยู่ 4
ระบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ
1.ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์(Civil Law) คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร
จุดกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรโรมัน
ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมเอาจารีตประเภณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่
โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบ
ซึ่งเรียกว่าประมวลกฎหมาย ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ชนชั้นที่ถูกปกครองในโรมันจึงมีการเรียกร้องให้ชนชั้นสูงทำการเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร
เพื่อให้ชนชั้นที่ถูกปกครองได้รู้กฎหมายด้วย
ซึ่งระบบกฎหมายนี้ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทยก็ใช้ระบบกฎหมายซีวิล
ลอว์ ตัวอย่างก็เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ
2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(Common Law) คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี
จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ
เนื่องจากแต่เดิมนั้นประเทศอังกฤษมีชนเผ่าอยู่มากมายหลายชนเผ่าด้วยกัน ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลหลวงหรือศาลพระมหากษัตริย์ขึ้น
โดยคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้จากส่วนกลางไปพิจารณาคดีในแต่ละท้องถิ่น
ซึ่งแต่ละชนเผ่าก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป
ทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีมากมาย
แต่ในภายหลังปัญหาก็ค่อยๆหมดไปเพราะเริ่มมีจารีตประเพณีที่มีลักษณะเป็นสามัญขึ้นโดยศาลหลวงได้ใช้จารีตประเพณีเหล่านี้ในการพิจารณาคดี
ในระบบคอมมอน ลอว์ แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว
ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อๆไป
หาข้อเท็จจริงในคดีต่อๆมาเหมือนกับคดีก่อน
ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว
ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมายนั่นเอง
แต่ปัจจุบันนี้ในประเทศอังกฤษก็ใช้ทั้งระบบกฎหมายแบบซีวิล ลอว์และคอมมอน ลอว์
ควบคู่กันไป
3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law) จุดกำเนิดของระบบกฎหมายนี้อยู่ที่รัสเซีย
แต่เดิมรัสเซียใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ แต่ในภายหลังเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ
ก็ได้มีการนำหลักการและแนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน
มาใช้โดยเชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการขัดระเบียบและกลไกในสังคม
เพื่อให้คนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน ปราศจากการกดขี่ข่มเหง ปราศจากชนชั้นวรรณะ
ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดร่วมกัน กฎหมายมีอยู่เพื่อความเท่าเทียม
เมื่อใดที่สังคมเกิดความเท่าเทียมกันแล้วกฎหมายก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
ส่วนลักษณะของกฎหมายสังคมนิยมนั้นจะมีการผสมผสานระหว่างกฎหมายลายลักษณ์อักษรกับจารีตประเพณีเข้าด้วยกัน
โดยมีการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนจารีตประเพณีนั้นเป็นตัวช่วยในการตีความและอุดช่องว่างของกฎหมายเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
และที่สำคัญก็คือกฎหมายในระบบสังคมนิยมนั้นต้องแฝงหลักการหรือแนวคิดของคาร์ล
มาร์กซ์ และ เลนิน ด้วยเสมอ
4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเภณีนิยม
ลักษณะของกฎหมายในระบบนี้ โดยเนื้อหาของกฎหมายแล้วก็จะอาศัยศาสนาหรือประเภณีนิยมเป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา
เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามกำหนดหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า ในปัจจุบันประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม
กฎหมายอิสลามมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก
แต่ส่วนกฎหมายในเรื่องอื่นๆก็จะใช้แนวทางของกฎหมายของทางโลกตะวันตก หรือใน 4
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส
ในเรื่องครอบครัวและมรดกก็จะต้องนำกฎหมายศาสนาอิสลามมาใช้บังคับ
ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นเฉพาะ 4 จังหวัดดังกล่าวเท่านั้น ส่วนในเรื่องอื่นๆทุกจังหวัดก็จะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันรวมไปถึง
4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น
ส่วนประเภณีนิยมนั้น คือ
สิ่งที่คนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมา
เช่นในประเทศจีนก็มีการนำประเภณีนิยมของนักปราชญ์อย่าง ขงจื้อ มาเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมาย
หรือประเภณีโบราณของลัทธิชินโตก็ใช้เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายในประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน
ฯลฯ
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท
แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
กฎหมายภายใน
ตอบ แบ่งโดยแหล่งกำเนิด
อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
ประเภทของกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ
ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
2.
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ
หรือริบทรัพย์สิน
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม
การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย
3.
กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ เช่น
ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย
4.
กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน เช่น
กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อานาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
4.2 กฎหมายเอกชน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และพระราชบัญญัติบางฉบับ
กฎหมายภายนอก
1.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เช่น
กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
2.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เช่น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
3.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เช่น
สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย คือ ลำดับชั้นของกฎหมายหรืออีกนัยหนึ่งคือ
ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน
ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น
พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย
หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น
การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น ออกเป็น
7 ประเภท ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้
โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง สิทธิเสรีภาพของประชาชน
2. พระราชบัญญัติ
ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
3. พระราชกำหนด
เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามบท
บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยของประเทศ แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
4. พระราชกฤษฎีกา
เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้
5. กฎกระทรวง
เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
6. ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ
เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นต้น
7.
ประกาศคำสั่ง
เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ เช่น
พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ
คำสั่งหน่วยงานราชการ เป็นต้น
10.
เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ของประชาชน ณ
ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า
รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ
ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่า
รัฐบาลกระทำผิดหรือไม่
ตอบ รัฐบาลกระทำผิดอย่างมากในเรื่องการทำร้ายร่างกายจนผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ
เพราะการทำร้ายร่างกายผู้อื่นถือว่าผิดกฎหมาย
11.
ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า
กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้ทุกคนต้องปฏิบัติตามซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษา
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายท่านคิดว่า
เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ มีผลกระทบคือ
เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเมื่อเรากระทำอันหนึ่งอันใดไป
เราจะไม่มีทางรู้ว่าสิ่งนั้นถูกต้องหรือไม่ในทางกฎหมายและจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนแก่เราได้
และถ้าหากนักเรียนทำผิดหรือทำการอันใดที่ไม่เหมาะสม ถ้าเรามีความรู้ในด้านกฎหมาย
เราสามารถหาทางแก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น