แบบทดสอบปลายภาค
1.ให้นักศึกษาอธิบาย
คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมายมีความเหมือนกันคือ เป็นกฏเกณฑ์ที่สมาชิกในสังคมจะต้องประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข
ไม่สดุ้งกลัว
ไม่หวาดระแวงภัย เป็นหลักประกันสังคมที่สำคัญ สังคมที่สงบสุข ไว้วางใจกันได้
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทะเลาะ ไม่กดขี่ข่มเหง
ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น สิ่งที่เหมือนกันระหว่างกฎหมายกับจารีตประเพณีที่เห็นได้ชัดคือ
เป็นกฎเกณฑ์ซึ่งกำหนดแบบแผนการกระทำภายนอกของมนุษย์
กฎหมายกับจารีตประเพณีไม่สนใจว่าคุณจะมีจิตใจที่ชั่วร้ายเพียงใด กฎหมายและจารีตประเพณีสนใจเพียงแต่ว่า
คุณห้ามกระทำในสิ่งที่กฎหมายหรือจารีตประเพณีเห็นว่าไม่ถูกต้องเท่านั้น
และหากผู้ใดฝ่าฝืนผู้นั้นก็ย่อมต้องถูกลงโทษ
ศีลธรรม
จารีตประเพณี และกฎหมายมีความต่างกันในแง่ของความชัดเจนในการกำหนดกฎเกณฑ์
และวิธีการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืน ในเรื่องความชัดเจนนั้น
เป็นที่แน่นอนว่ากฎหมายย่อมมีความชัดเจนในการกำหนดแบบแผนความประพฤติของบุคคลมากกว่าจารีตประเพณีและศีลธรรมอย่างแน่นอน
เนื่องจากกฎหมายจะมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร
จึงทำให้ประชาชนสามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งใดสามารถทำได้ และสิ่งใดไม่สามารถทำได้
ตรงกันข้ามกับจารีตประเพณีและศีลธรรมที่มีเพียงแต่การปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้น
ไม่มีการกำหนดจารีตประเพณีและศีลธรรมไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด
จึงเป็นการยากที่บุคคลนอกท้องถิ่น จะรู้และเข้าใจได้ว่า
ชุมชนนั้นมีจารีตประเพณีที่ถือเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติไว้อย่างไรบ้าง โดยศีลธรรมนั้นขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของคนๆ
นั้นโดยเฉพาะ โดยจะกระทบกระเทือนจิตใจของเขามากน้อยเพียงใดเท่านั้น
สรุปได้ว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมายมีความเบาไปหาหนักคือ
เมื่อทำผิดศีลธรรม เช่น เมื่อไปวัดเราแต่งกายไม่เรียบร้อย
เราก็จะถูกตำหนิ ถูกนินทาจากชาวบ้าน โดยไม่มีบทลงโทษทางกฎหมาย เมื่อทำผิดจารีตประเพณี
เช่น ในชุมชนที่เป็นอิสลาม ถ้าไปแย่งสามีคนอื่น จะต้องออกจากหมู่บ้าน เป็นต้น
ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ร่วมกันสร้างขึ้นมา ส่วนกฎหมายจะเป็นสิ่งที่บังคับใช้ เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
ถ้าบุคคลใดทำผิดจะถูกลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ไม่สวมหมวกกันน็อก ปรับ 300 บาท เป็นต้น
2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย
คืออะไร มีการจัดอย่างไร โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่งคสช.
พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย คือลำดับชั้นของกฎหมายหรืออีกนัยหนึ่งคือ
ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน
ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น
พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย
หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น
สำดับของศักดิ์ของกฎหมาย
มีดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ตลอดจนรับรองและส่งเสริมสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นทุกฉบับ
กฎหมายอื่นจึงจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ มิเช่นนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้เลย มักมีผู้เรียก
"รัฐธรรมนูญ" ว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" พึงทราบว่า
"กฎหมายรัฐธรรมนูญ" (Constitutional Law) นั้นเป็นคำเรียกสาขาวิชาทางนิติศาสตร์และเรียกกฎหมายมหาชนแขนงหนึ่งซึ่งว่าด้วยการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง
ส่วน "รัฐธรรมนูญ" (Constitution) นั้นคือกฎหมายจริง ๆ
ฉบับหนึ่งซึ่งจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง
2.พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้อนุญาต
ซึ่งได้คำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
และเนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้นจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
3.พระราชกำหนด เป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี
มีศักดิ์เท่ากับพระราชบัญญัติทุกประการ ต่างกันแต่วิธีการตรากฎหมายเท่านั้น
4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
เช่นพระราชบัญญัติ
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโอการได้
5.พระราชกฤษฎีกา
เป็นบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ
หรือพระราชกำหนดเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
ซึ่งจะมีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
6.กฎกระทรวง เป็นบทบัญญัติหรือกฎหมายรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งเสนาบดีกระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (ในปัจจุบัน)
เป็นผู้ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ
เช่น พระราชกำหนด หรือ ประมวลกฎหมาย
โดยที่กฎกระทรวงนี้จะต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอื่นๆ
7.ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ
เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นต้น
8.เทศบัญญัติเป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล
การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับคือ เทศบาลตำบล
เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร
3. แชร์กันสนั่น
ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า
ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร"
ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง
ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า

"วันนี้...ลูกชายวัย
6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1
ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้)
ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย
มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด
ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า
แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้
มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้
ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
ตอบ จากการที่ดิฉันได้อ่านข่าวนี้แล้วมีความรู้สึกสลดและเสียใจเป็นอย่างมาก
ทำไมคนที่เป็นครูถึงทำกับนักเรียนได้ถึงขนาดนี้ แค่นักเรียนอ่านหนังสือไม่ค่อยออก
ไม่ควรที่จะใช้วิธีทุบหลังนักเรียนแบบนี้ เห็นได้ว่า ครูผู้นี้มีจิตใจโหดเหี้ยม
ไม่เหมาะกับการเป็นครูและไม่มีจรรยาบรรณวิชาชีพครูเลย ไม่มีความรัก ความเอื้ออาทร
ความหวังดีต่อศิษย์
เพราะการที่เราอยากเห็นศิษย์ของเราอ่านหนังสืออกนั้นเป็นสิ่งที่ดี
แต่ครูควรที่จะใช้วิธีการอื่น เช่น ให้รางวัลหรือการเสริมแรงกับเด็ก
เมื่อเด็กอ่านหนังสือได้ 1 หน้า โดยการให้ขนมหรือของเล่นเล็กๆน้อยๆที่เด็กชอบ
เพราะการเสริมแรงของสกินเนอร์จะใช้ได้ดีมากในกรณีแบบนี้ ถ้าเป็นดิฉัน แน่นอน ดิฉันจะไม่ทำแบบครูคนนี้
เพราะดิฉันเป็นคนใจเย็น มีความเมตตาต่อผู้อื่น
และคิดว่ามีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้เพื่อพัฒนาการอ่านของนักเรียนให้ดีขึ้น
มันดีแค่ไหน ถ้าเราสอนนักเรียนที่อ่านหนังสือไม่ค่อยออกและทำให้เขาอ่านหนังสือออก
มันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์และน่าภูมิใจมาก ครั้งหนึ่งที่เราได้เป็นครู
4. ให้นักศึกษา
สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ
S (Strengths) = จุดแข็ง หรือจุดเด่นของตนเอง
W (Weakness) = จุดอ่อน หรือจุดด้อยของตนเอง
O (Opportunities) = โอกาสในการแก้ไขจุดด้อยของตนเองที่มาจากปัจจัยภายนอก
T (Threats) =
อุปสรรคในการแก้ไขปัญหาตนเองที่มาจากปัจจัยภายนอก
จุดแข็ง (Strengths)
1.มีความอดทน
2.มีความขยัน
3.สุภาพ
เยือกเย็น
4.รู้จักกาลเทศะ
5.มีน้ำใจ
6.สร้างจุดสนใจได้ดีเสมอ
สร้างความประทับใจให้กับทุกคน
7.เป็นคนยิ้มง่าย
8.รักตัวเอง
จุดอ่อน (Weakness)
1.ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเอง
2.ไม่ชอบแสดงออกทางอารมณ์
แม้แต่จะทำสิ่งที่ดีๆให้กับคนที่รัก
3.ชอบกังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
4.ไม่ค่อยมีอารมณ์ขัน
โอกาส (Opportunities)
1.ครอบครัวให้การสนับสนุนทางด้านการศึกษา
2.รู้จักญาติผู้ใหญ่ที่คอยช่วยเหลือหลายท่าน
3.มีครอบครัวที่อบอุ่น
มีเพื่อนที่เข้าใจและคอยให้กำลังใจ
4.เคยทำงานหนักจนทำให้เรารู้จักสู้กับชีวิต
อุปสรรค (Threats)
1.ตลาดมีการแข่งขันสูง
เนื่องจากมีคู่แข่งหลากหลายสถาบัน
2.เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร
บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
ตอบ การสอนของอาจารย์เป็นวิธีสอนวิธีหนึ่งที่ดีมากๆ
เพราะอาจารย์จะให้วิธีคิด แนวคิด
เล่าประสบการณ์ของอาจารย์ทำให้ดิฉันมีแรงจูงใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น เพราะในการเรียนนั้น
แรงจูงใจเป็นสิ่งที่สำคัญ การเรียนครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้รับความรู้มากมาย โดยการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตและได้รับเนื้อหาความรู้จากอาจารย์ที่นั้น
ทำให้ดิฉันได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้อ่านจริง อาจารย์มีงานให้ทำทุกคาบ
เห็นได้ว่าดิฉันต้องกลับไปอ่านและทำความเข้าใจในคำถามและบทเรียนที่อาจารย์ให้ไปทำนอกห้องเรียน
ทำให้เรามีเวลาและโอกาสในการได้ใช้ความคิดและใช้เวลาในการทำมากขึ้น
และทำให้สามารถเลือกเวลา ความพร้อมในการทำได้มากยิ่งขึ้น
นอกจากจะได้ความรู้ในรายวิชาแล้ว
เรายังสามารถใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ถูกต้องคือนำมาใช้ในการเรียนการสอน ทำให้ดิฉันสามารถสร้างบล็อกได้
ทำหัวบล็อกเป็น และสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆได้เป็นอย่างดี
ถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่มีประโยชน์และสามารถนำความรู้มาใช้ในการที่จะไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้
นอกจากจะได้ความรู้แล้วยังได้รับความสุขในการเรียนด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตามในการสอนของอาจารย์ก็มีข้อปรับปรุงเพียงเล็กน้อยคือ
อยากให้อาจารย์นำข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วยหรือข้อสอบบรรจุครูคืนถิ่นหรือเกร็ดสาระความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการสอบบรรจุมาโพสต์ลงในบล็อกเพื่อให้นักเรียนได้อ่านและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและนำไปใช้สอบบรรจุ
ตรวจแล้วเขียนดีเกือบทุกข้อมีข้อ 2 ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมนำมาจัดลำดับยังไม่สมบรูณ์
ตอบลบ